บทความ

เส้นทางสายผ้าเหลือง

ต้นศรีมหาโพธิ์สูงใหญ่ 2 - 3 ต้น ใบสีเขียวขจีคล้ายรูปหัวใจอันเป็นเอกลักษณ์ แผ่ออกเป็นวงกว้างให้ร่มเงาที่บริเวณด้านหน้าของวัด ด้านในเขตอารามมีดอกแก้ว ดอกลั่นทม ที่ผลิดอกออกหลังจากได้รับหยาดน้ำจากพระพิรุณ นอกจากนี้ยังมีต้นสาละ ต้นหว้า มะตูม โกศล และพญาสัตบรรณที่มีเกสรส่งกลิ่นแรงจนเวียนหัว ส่วนด้านหลังจะเป็นพวกไม้ผล เช่น ชมพู่ มะม่วง ลำไย รวมไปถึงมะพร้าวที่มีลำต้นอันสูงชะลูด คราคร่ำไปด้วยก้านใบสีเขียวเป็นแฉก ๆ หลายต้น ตรงต้นคอเต็มไปด้วยลูกอ่อนสลับกับลูกแก่ประมาณ 5 - 6 ทะลาย ปลิวพัดเอียงเอนไปกับสายลมจากที่พัดมาทางทิศใต้ คำนวนความสูงจากสายตาแล้วไม่น่าจะน้อยกว่า 20 เมตร ซึ่งไม้ผลชนิดนี้คนไทยคุ้นเคยกันอย่างดีมาเป็นเวลานาน สามารถใช้ประโยชน์เรียกได้ว่าแทบจะทุกส่วน ทั้งเนื้อและน้ำจากผลอ่อนรับประทานสดอร่อยชื่นใจ เนื้อจากผลแก่คั้นเป็นกะทิ นำไปปรุงอาหารและทำขนมได้หลากหลายชนิด เปลือกแยกเอาแต่เส้นใยใช้เป็นวัสดุทำเบาะและที่นอน ขุยใช้เพาะชำต้นไม้ กะลาใช้ทำเป็นกระบวยและเครื่องดนตรีประเภทซอ ใบทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคา ทำไม้กวาด ยอดอ่อนใช้เป็นอาหาร จั่นหรือช่อดอกมีน้ำหวานนำมาทำเป็นน้ำตาล นอกจ

"ฟ้าหลังฝน ราตรีวิวาห์"

ผืนดินสองฟากฝั่งในเขตทางเดินของวัดทางด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ สามารถมองเห็นท้องทุ่งนาอันกว้างใหญ่ไพศาลหลายร้อยไร่ของชาวบ้าน ถึงแม้ว่าจะไม่มีรวงข้าวสีทองเหมือนกับช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว แต่เกษตรกรก็ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเว้นโดยเปล่าประโยชน์ มักจะปลูกพืชไร่พืชสวน พืชอายุสั้นทดแทน เพื่อสร้างรายได้ อย่างพวก ถั่วลิสง ข้าวโพด แตงกวา ถั่วฝักยาว เป็นการพักฟื้นผืนดินอีกทั้งเป็นปุ๋ยชั้นดีเมื่อไถกลบให้กับที่นาเพื่อเตรียมทำงานใหญ่ในช่วงฤดูฝน ในท้องนามีพืชผลทางการเกษตรแล้ว ริมท้องทุ่งก็ไม่ยอมน้อยหน้า มีไม้ยืนต้นที่ทนแดดให้ร่มเงาอย่าง "อินทนิล" ลำต้นสูงใหญ่ประมาณ 10 เมตร โดยรอบต้นมีเปลือกสีน้ำตาลอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ ใบค่อนข้างหนาปลายแหลม เป็นมันทั้งสองด้าน ไม่มีขน มีดอกออกเป็นช่อสวยงามตรงปลายกิ่ง บางช่อมีสีม่วงสด บางช่อมีสีชมพู บางช่อมีสีม่วงอมชมพูสลับกันไป ดูแล้วเพลินตายิ่งนัก ซึ่งจะปรากฏให้เห็นได้ในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนมิถุนายนเพียงเท่านั้น "อินทนิล" หรือเรียกกันในภาษาเหนือว่า "ดอกหอมนวล" จัดได้ว่าเป็นฝาแฝดกับ "ต้นตะแบก" ที่มีลักษ

"ปาฏิหาริย์ไม่มีจริง"

เต้ง...เต้ง...เต้ง...เต้ง ๆ ๆ ๆ.... บรู้ว...บรู้ว...บรู้ว...บรู้ว...ๆ ๆ ๆ เสียงตีระฆังในตอนรุ่งสางช่วงสี่นาฬิกากว่า ๆ ที่สามเณรติ๊บตั้งใจตีอย่างบรรจง ผสมกับเสียงเห่าหอนของเจ้าสี่ขาในวัดยาวนานเกือบ 5 นาที ก้องกังวาลไปไกลทั่วหมู่บ้าน ท่ามกลางสายฝนที่ตกโปรยปราย ตลอดในช่วงฤดูกาลเข้าพรรษา แม้ว่าจะมีหยาดน้ำจากฟ้าร่วงหล่นลงมาในทุก ๆ วัน แต่การปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์องคเจ้า หาใช่ว่าจะต้องหยุด ยังคงดำเนินหน้าที่กันต่อไป ตั้งแต่การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น สวดมนต์โปรดศรัทธาญาติโยมที่นำข้าวปลาอาหารมาถวาย ทำความสะอาดศาสนสถานต่าง ๆ และดูแลวัตถุทรัพย์สินภายในวัดวาอารามอยู่เป็นนิจ นอกจากนี้พระภิกษุ สามเณรทุกรูปต้องได้รับการศึกษาเฉกเช่นเดียวกับฆารวาสหรือชาวบ้านทั่วไป ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือการสวดมนต์ทั้งไทยและบาลี เรียนรู้ภาษาล้านนา การเทศนาธรรม รู้จักศาสนพิธี ตลอดจนศึกษาพระวินัย พระธรรมคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเรียกการเรียนรู้นี้ว่า "ทางธรรม" เป็นสิ่งที่พระทุกรูปตั้งแต่พระรุ่นเก่ารวมทั้งสามเณรบวชใหม่อย่างสามเณรมนตรีและสามเณรติ๊บต้องศึกษาให้แตกฉาน เพื่อนำวิชาความรู้เหล่านี้ปฏิบ