บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020

"ฟ้าหลังฝน ราตรีวิวาห์"

ผืนดินสองฟากฝั่งในเขตทางเดินของวัดทางด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ สามารถมองเห็นท้องทุ่งนาอันกว้างใหญ่ไพศาลหลายร้อยไร่ของชาวบ้าน ถึงแม้ว่าจะไม่มีรวงข้าวสีทองเหมือนกับช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว แต่เกษตรกรก็ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเว้นโดยเปล่าประโยชน์ มักจะปลูกพืชไร่พืชสวน พืชอายุสั้นทดแทน เพื่อสร้างรายได้ อย่างพวก ถั่วลิสง ข้าวโพด แตงกวา ถั่วฝักยาว เป็นการพักฟื้นผืนดินอีกทั้งเป็นปุ๋ยชั้นดีเมื่อไถกลบให้กับที่นาเพื่อเตรียมทำงานใหญ่ในช่วงฤดูฝน ในท้องนามีพืชผลทางการเกษตรแล้ว ริมท้องทุ่งก็ไม่ยอมน้อยหน้า มีไม้ยืนต้นที่ทนแดดให้ร่มเงาอย่าง "อินทนิล" ลำต้นสูงใหญ่ประมาณ 10 เมตร โดยรอบต้นมีเปลือกสีน้ำตาลอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ ใบค่อนข้างหนาปลายแหลม เป็นมันทั้งสองด้าน ไม่มีขน มีดอกออกเป็นช่อสวยงามตรงปลายกิ่ง บางช่อมีสีม่วงสด บางช่อมีสีชมพู บางช่อมีสีม่วงอมชมพูสลับกันไป ดูแล้วเพลินตายิ่งนัก ซึ่งจะปรากฏให้เห็นได้ในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนมิถุนายนเพียงเท่านั้น "อินทนิล" หรือเรียกกันในภาษาเหนือว่า "ดอกหอมนวล" จัดได้ว่าเป็นฝาแฝดกับ "ต้นตะแบก" ที่มีลักษ

"ปาฏิหาริย์ไม่มีจริง"

เต้ง...เต้ง...เต้ง...เต้ง ๆ ๆ ๆ.... บรู้ว...บรู้ว...บรู้ว...บรู้ว...ๆ ๆ ๆ เสียงตีระฆังในตอนรุ่งสางช่วงสี่นาฬิกากว่า ๆ ที่สามเณรติ๊บตั้งใจตีอย่างบรรจง ผสมกับเสียงเห่าหอนของเจ้าสี่ขาในวัดยาวนานเกือบ 5 นาที ก้องกังวาลไปไกลทั่วหมู่บ้าน ท่ามกลางสายฝนที่ตกโปรยปราย ตลอดในช่วงฤดูกาลเข้าพรรษา แม้ว่าจะมีหยาดน้ำจากฟ้าร่วงหล่นลงมาในทุก ๆ วัน แต่การปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์องคเจ้า หาใช่ว่าจะต้องหยุด ยังคงดำเนินหน้าที่กันต่อไป ตั้งแต่การทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น สวดมนต์โปรดศรัทธาญาติโยมที่นำข้าวปลาอาหารมาถวาย ทำความสะอาดศาสนสถานต่าง ๆ และดูแลวัตถุทรัพย์สินภายในวัดวาอารามอยู่เป็นนิจ นอกจากนี้พระภิกษุ สามเณรทุกรูปต้องได้รับการศึกษาเฉกเช่นเดียวกับฆารวาสหรือชาวบ้านทั่วไป ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือการสวดมนต์ทั้งไทยและบาลี เรียนรู้ภาษาล้านนา การเทศนาธรรม รู้จักศาสนพิธี ตลอดจนศึกษาพระวินัย พระธรรมคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเรียกการเรียนรู้นี้ว่า "ทางธรรม" เป็นสิ่งที่พระทุกรูปตั้งแต่พระรุ่นเก่ารวมทั้งสามเณรบวชใหม่อย่างสามเณรมนตรีและสามเณรติ๊บต้องศึกษาให้แตกฉาน เพื่อนำวิชาความรู้เหล่านี้ปฏิบ

"สู่ร่มกาสาวพัสตร์"

"พื้นฐานของตึกคืออิฐ พื้นฐานของชีวิตคือการศึกษา" คำขวัญที่เขียนเป็นตัวหนังสือใหญ่ ๆ ด้วยสีน้ำมันที่คุณครูอนันต์บรรจงเขียนเมื่อปีที่แล้วติดหราอยู่บนกำแพงทางเข้าห้องประชุมของโรงเรียน ประดับด้วยต้นดอกเข็มที่มีทั้งสีแดงสลับกับสีเหลืองและสีชมพูแตกดอกชูช่อด้วยความสวยงาม อีกทั้งบนพื้นดินยังมีมวลหญ้าแพรกเขียวขจีแตกกอกระจายไปทั่ว ล้อมด้วยรั้วไม้ไผ่ทรงเตี้ยเป็นสัญลักษณ์ที่กลมกลืนกับข้อความที่บ่งบอกถึงความสำคัญของการเรียนการศึกษาเป็นอย่างดี ริมสนามมีต้นดอกหางนกยูงต้นใหญ่หลายต้นเรียงรายอย่างเป็นระเบียบ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมจะผลิดอกออกมาเป็นสีส้มสีแดงอย่างงดงาม ใครผ่านไปผ่านมาก็จะชื่นชมอยู่เสมอ ถัดจากสนามก็จะเป็นอาคารเรียนชั้นป.1 ป.2 ป.3 มีห้องพักครูและห้องประชุมด้วย ข้าง ๆ อาคารฝั่งทิศใต้มีต้นฉำฉาสูงใหญ่เป็นร่มเงาแผ่กิ่งก้านสาขา พวกเด็กน้อยชอบมาเล่นกระโดดหนังยางกันตรงนี้ ขยับมาอีกหน่อยเป็นอาคารเรียนชั้น ป.4 ป.5 ป.6 ที่ตรงหน้าอาคารมีต้นมะกอกน้ำที่รสฝาดซึ่งเด็ก ๆ มักจะนำไปดองเกลือก็จะหายฝาดสักอาทิตย์หนึ่งก็กินได้ ต้นสูงไม่ใหญ่นักอยู่ 7 8 ต้น ด้านหลังโรงเรียนเป็นแป

"กลับบ้าน"

ดอกราชพฤกษ์ที่เหลืองสดใสหลากหลายต้น ที่สถิตอยู่ตามสองข้างทางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ พัดไหวร่วงหล่นอยู่ตามรายทาง ที่ดูสวยงามราวกับใครนำสีมาฉาบลงบนพื้นถนน ประกอบกับท้องฟ้าเปิดโดยแสงสุริยันที่ส่องลงมา เปล่งประกายในเช้าวันหนึ่ง ริมข้างทางที่ไกลห่างจากหมู่มวลดอกสีเหลืองที่คนเหนือเรียกว่าดอกลมแล้ง เบื้องหน้าเป็นตลาดที่ผู้คนจับจ่ายซื้อของสดพวกเนื้อหมู เนื้อไก่ ผักหลากชนิด รวมทั้งพวกกับข้าว เช่น แกงอ่อม น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว และอีกมากมาย ขนมหวานชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวมัน ขนมชั้น ขนมลิ้นหมา ของแห้งก็มีทั้ง พริก กระเทียม ปลาแห้ง ตลอดจนของใช้ต่าง ๆ พวกกะละมัง ตะกร้า ถังน้ำ แม้กระทั่งเสื้อผ้าก็ยังมีจำหน่าย แม้ว่าจะเป็นเพียงตลาดเล็ก ๆ ของหมู่บ้าน แต่บางครั้งก็มีคนต่างหมู่บ้านมาจับจ่ายซื้อสินค้า ท่ามกลางเสียงจอแจที่ครื้นเครงของชาวบ้าน ใครมีข่าวสารอะไรมาก็มาเล่าสู่กันฟัง ทั้งเหตุบ้านการเมือง ใครทะเลาะกับใคร ใครมีเลขเด็ด ใครเป็นชู้กับใคร ละครเมื่อคืนเป็นอย่างไรบ้าง ใครทำอะไรดีอะไรผิด ทุกคนก็จะรู้หมด เรียกได้ว่าตลาดนั้นคือสถานที่ "ศูนย์กลางการกระจายข่าว" ที่เป็นของคู่กันชนิดที่คงแยกจากกันไม