บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2020

จดหมายจากบางกอก

"กรุงเทพมหานคร" เมืองฟ้าอมรในความรู้สึกของใครหลาย ๆ คน สภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยตึกสูง ๆ ใหญ่ ๆ บ้านหลังโต ๆ บนถนนเต็มไปด้วยยวดยานพาหนะทั้งรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง รถรับจ้าง จักรยานยนต์ ที่ผู้คนใช้สัญจรไปมา บ่งบอกถึงความหนาแน่นของประชากรในเมืองนี้ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังเป็นเมืองหลวงของประเทศที่เป็นศูนย์กลางความเจริญหลาย ๆ ด้าน ทั้งธุรกิจ การค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า การบริหารราชการแผ่นดิน การคมนาคม โรงงานอุตสาหกรรม การศึกษา หรืออาชีพอื่น ๆ ทั่วไป ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าต่างจังหวัดรวมทั้งประเทศใกล้เคียง ผู้คนต่างวาดฝันจะเข้ามาใช้ชีวิตให้ได้สักครั้ง ไม่ว่าจะเป็นคนในประเทศที่มีพื้นถิ่นทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน หรือภูมิภาคใกล้เคียงอย่างภาคกลาง หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เมียนม่าร์ กัมพูชา สปป.ลาว ก็ล้วนแต่อพยพเข้ามาอาศัยไม่ว่าจะทำงาน เที่ยวพักผ่อน หรือเล่าเรียนหนังสือ เช่น "การศึกษา" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ที่ในเมืองกรุงมีระบบการเรียนการสอนที่มีความพร้อม ทั้งทางด้านบุคลากร ครู อาจารย์ ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ มีความทันสมัยของสถานที่ สื่อกา

สิ่งที่ไม่ไขว่คว้าใน รั้วมหา'ลัย

เบื่องาน 5555 ตั้งแต่เรียน ป.ตรี ที่ ม.อ่างแก้ว ตีนดอยสุเทพ พอจบก็ต่อโทที่นั้นอีกใบ มี Puppy love บ้าง แต่มุ่งมั่นให้ได้กระดาษ 1 ใบ ที่ไม่ได้ใช้อะไร เก็บไว้ในตู้ บ้างก็แป๊ะฝาบ้าน. สุดท้าย ไม่ได้ใครสักคน 55555 เซ็ง ๆ ไม่รู้จะทำห่า อะไร ไปเป็นลูกพระพิรุณบ้างดีกว่า เป็นลูกช้างมาก็นานโข เขาว่า ที่นั่น SOTUS แรง อยู่ที่นี่ ซะ 7 ปี เต็ม “ครูเบื่อเธอละ จบ ๆ ไปเถอะ รำคาญ” เอาเป็นว่าได้ ปริญญาเอก แบบงง ๆ มาอีกหนึ่งใบ จบออกมาไม่มีอะไรตื่นเต้น... งานหลัก เขาก็ให้แค่ลงนามในหนังสือ งานอดิเรก ก็แบกหมอนหละ เล่นเกม ส่องเฟส บ้าง งานจร ก็พอมี ตามคำสั่งเจ้ากรมฯ นายใหญ่แห่งสังกัด ให้ไปช่วยงานที่บางกอกบ้างเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่ก็จะประจำอยู่สำนักตัวเอง เป็น เจ้าสำนักรุ่นเยาว์ มีไพร่พล ดูแล ประมาณ 600 ชีวิต เจ้ากรรม นี่หน้าที่กูสินะ. (...ทำ ๆ ไป อย่าบ่น...) วัน ๆ เฮฮา ไปตามเรื่องไม่เหงา หากไม่มี covid มารังควาน ตอนนี้ แม่งสุดเซ็ง เพราะสำนักที่ตนเองได้รับมอบอำนาจให้ดูแลต้องปิดตัวชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น (...กูก็เซ็งสิว๊ะ ไอ้ห่า...) เลยจำทนต้องเป็น ฆาตกรชั่วคราวในการทำหน้าที่ "ฆ่าเวลา

"ในวันไกลห่าง"

"ในวันไกลห่าง" "...อย่ากลับคืนคำเมื่อเธอย้ำสัญญา อย่าเปลี่ยนวาจาเมื่อเวลาแปรเปลี่ยนไป ให้เธอหมายมั่นคงแล้วอย่าหลงไปเชื่อใคร เดินทางไปอย่าหวั่นไหวใครขวางกั้น มีดวงตะวันส่องเป็นแสงสีทอง กระจ่างครรลองให้ใฝ่ปองและสร้างสรรค์ เมื่อดอกไม้แย้มบานให้คนหาญสู้ไม่หวั่น คือรางวัลแด่ความฝันอันยิ่งใหญ่ให้เธอ" ..เสียงเพลง "รางวัลแด่คนช่างฝัน" ของจรัล มโนเพชร ส่งเสียงแว่วมามาจากวิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องใหม่เอี่ยมยี่ห้อดังของลุงเมฆ ที่ซื้อมาจากตลาดนัดในตัวอำเภอ เขาตั้งใจเปิดอย่างสุดเสียงเพื่ออวดคนรอบ ๆ บ้านให้ได้ยินถึงความอลังการของมัน โดยมีการดำเนินรายการของผู้จัดรายการวิทยุมอบให้มิตรรักแฟนเพลงตามคำขอ ผสานแข่งกับบรรดาเหล่าเจ้าโต้ง ไก่หนุ่มผู้ที่โก่งคอตะเบ็งกึกก้องสนั่นปานฟ้ารั่วอย่างเต็มที่ เพื่อต้องการแสดงให้ไก่สาวแถว ๆ นั้นรู้ว่ามันมีพลังเหลือเฟือ สามารถเป็นพ่อของลูกเจี๊ยบได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นสัญญาณบอกกับชาวโลกว่า "เช้าแล้วนะ" เสมือนนักมวยฝ่ายแดงกับฝ่ายน้ำเงินขึ้นสังเวียน พร้อมที่จะแลกหมัดแทงเข่าแข่งพจนวาจากันว่าใครจะเป็นที่หนึ่งในยุทธ

"ชีวิตแรก"

"ชีวิตแรก" ○สุริยันสาดแสงส่องบาง ๆ ในยามเช้า ในการปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของพระอาทิตย์ ที่ยึดมั่น ถือมั่นอย่างเคร่งครัด เคล้ากลิ่นหยาดน้ำค้างที่ติดอยู่บนใบไม้ ยอดหญ้า ใบเล็ก ใบใหญ่ สะท้อนแสงอันมันขลับ จากสายพิรุณที่หลั่งมาจากฟ้าในค่ำคืนก่อน ทำให้อากาศเย็นสบาย หมู่ผกาต่างชูช่อ เบ่งบาน ตั้งใจหลอกล่อภมรมาผสมเกสร โบกไปมาตามแรงวายุอ่อน ๆ ในรุ่งอรุณ ทั้งดอกเข็ม ดอกลำโพง ดอกพุด ดอกมะลิ ทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กน้อยใหญ่อย่างพวกนกกระจิบ นกกระจาบที่กำลังส่งเสียงจิ๊บ จิ๊บ จ๊าบ จ๊าบ ขับขานราวกับท่วงทำนองเพลงลูกกรุง หรือสัตว์น้ำอย่างพวกมัจฉา กุ้ง หอย ปู แม้กระทั่งสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร วัคคุ หรือแม้แต่ มหิงสา กระทั่งมนุษย์ล้วนต้องตื่นจากการหลับไหลในช่วงราตรีที่ผ่านมา เสียงของไก่ที่บรรจงตะเบ็งเสียงร้องขันประชัน ประหนึ่งนาฬิกาปลุก ประกาศให้โลกรู้ว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกชีวิตจะต้องออกจากรังนอน เพื่อหุงหาอาหาร ทำกินในยามแสงแรกแห่งรุ่งอรุณ ○ "ศักดิ์จะไปโฮงเฮียนแล้วกา มา ๆ มาแวะเอาแก๋งหน่อไปกิ๋นตี่โฮงเฮียนก่อน" เสียงตะโกนเรียกของเพ็ญซึ่งตั้งท้องแก่ เรียกเ

แสงดารา ยังเจิดจ้าบนท้องนภา

แสงดารา   ยังเจิดจ้าบนท้องนภา ดร.ธนเสฏฐ   สุภากาศ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์           เวลา 19.45 น. ของวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563 เสียงโทรศัพท์ ดังขึ้น ขณะที่ผมกำลังนอนอยู่บนเตียง และเพลิดเพลินกับการตรวจสอบข่าวสาร นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาล และข่าวการระบาดใหญ่ของโรคติดต่อ Covid-19                    “...สวัสดีครับ ท่าน ผอ.....”                    “... น้อง น้อง ทราบหรือยัง ว่าลูกน้อง ของน้อง ที่ชื่อ โบว์ หรือ บลู อะไรนี่ประสบอุบัติเหตุ...”                    “... หา...อะไรนะครับ...”                    “...พอดีว่า ทางโน้น เขาไม่มีเบอร์โทรศัพท์ น้อง เลยให้พี่ติดต่อหาน้อง...”                    “... ครับ ๆ ครู บลู บ้านอยู่เชียงราย   เป็นอะไรหนักไหมครับ อยู่โรงพยาบาลไหนครับ...”                    “... อันนี้พี่ก็ลืมถามรายละเอียด อย่างไรน้องช่วยตรวจสอบ ด้วยนะ...”           สิ้นการสื่อสารทางโทรศัพท์ ได้โทรศัพท์ถึง หัวหน้างานบุคลากรของโรงเรียน และ หัวหน้างานวิชาการของโรงเรียน ให้ตรวจสอบข้อมูลเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน             “

การแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัสและการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุในประเทศจีน: วิธีการตอบสนองการประสานงานโดยองค์กรวิชาชีพช่วยผู้สูงอายุในช่วงวิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อน

การแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัสและการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุในประเทศจีน: วิธีการตอบสนองการประสานงานโดยองค์กรวิชาชีพช่วยผู้สูงอายุในช่วงวิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อน Coronavirus Epidemic and Geriatric Mental Healthcare in China: How a Coordinated Response by Professional Organizations Helped Older Adults During an Unprecedented Crisis Huali Wang 1,2 ,* , Tao Li1, 2 , Serge Gauthier 3 , Enyan Yu 4 , Yanqing Tang 5 , Paola Barbarino 6 ,   Xin Yu 1,2 ,* 1 Dementia Care and Research Center, Peking University Institute of Mental Health (Sixth Hospital), Beijing Dementia Key Lab, Beijing 100191, China 2 NHC Key Laboratory of Mental Health, National Clinical Research Center for Mental Disorders (Peking University), Beijing 100191, China 3 McGill Center for Studies in Aging; Douglas Mental Health Research Institute; McGill University, Montreal, Canada 4 Department of Psychological Medicine, Cancer Hospital of the University of Chinese Academy of Sciences, Zhejiang Cancer Hospital