ความเร่าร้อน ของนโยบาย แจกแท็บเล็ต: การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานยุคหลัง covid-19


ความเร่าร้อน ของนโยบาย แจกแท็บเล็ต: การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานยุคหลัง covid-19

กระแสความเร่าร้อน ของนโยบาย แจกแท็บเล็ต ของ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ เกิดขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งๆ ที่การเรียนนั้น ไม่สามารถเรียนผ่านนามธรรมได้ทั้งหมด

การเรียน ออนไลน์ เป็นเพียงสิ่งเสริมและทบทวนการเรียนรู้เชิงทฤษฎี สิ่งที่ควรดำเนินการคือ การคิดเป็น ทำเป็น และเรียนรู้จากการปฏิบัติ การตรวจสอบ และควบคุมร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
หากพิจารณาถึง กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้แสดงสมรรถนะ จากการเรียนรู้จากปฏิบัติ นั้นสำคัญยิ่งกว่าการเรียนรู้ออนไลน์

การฝึกอ่าน ฝึกเขียน. การเรียนรู้ผ่านการทดลอง. การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ เช่น งานช่าง. งานเกษตร งานอุตสาหกรรม งานคหกรรม ไม่สามารถเรียนรู้โดยช่องทางการสื่อสารได้โดยสมบูรณ์ การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงนั้น ต้องอาศัยพื้นที่ และวัสดุฝึก ให้นักเรียนรู้รักการทำงาน

แน่นอนว่า การเรียนรู้ออนไลน์เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ในการเรียนรู้เชิงทฤษฎี แต่ก็เชื่อแน่ว่า การเรียนรู้ออนไลน์นั้น ไม่อาจสัมฤทธิ์ผล ด้วยเหตุว่า เด็กวัยเรียนควรที่จะเรียนรู้ผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างเพื่อน เรียนรู้ผ่านการเล่น เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

ความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์คืออะไร หากพิจารณาอย่างถ่องแท้ สิ่งแรกที่มนุษย์ต้องการคือ การอยู่รอด และมีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ซึ่งก็สอดคล้องกับความต้องการของมุษย์ด้านกายภาพของ Maslow’s

สิ่งที่เราควรตระหนักยิ่งกว่าการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ คือ วิกฤตภายหลังยุค covid-19 แน่นอนว่า จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ อาทิ มนุษย์จะปรับตัวสู่การพึ่งตัวเองมากขึ้นโดยการเป็นนักผลิตอาหารเพื่อการดำรงชีพของตนเองมากขึ้น ส่วนภาคอุตสาหกรรมและการบริการ จะมุ่งเน้นการใช้ AI มาทดแทนแรงงานมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด

ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังยุค covid 19 ประชาชนจะมีการปรับตัวอย่างมาก. คนที่คิดว่า จะไปใช้แรงงาน หรือ ไปทำงานต่างประเทศ อาจจะมีความยุ่งยากมากขึ้น เนื่องจากแต่ละประเทศได้เรียนรู้ถึงผลเสียอันเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายประชากรอย่างเสรี

สิ่งที่ควรเน้นและผลักดันให้เกิดนั่นคือ การให้นักเรียน และประชาชน ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม วิธีการหนึ่งที่ทำได้ คือ การสร้างป่าในครัวเรือน การพัฒนาแหล่งน้ำในครัวเรือนและชุมชน เพื่อให้สิ่งแวดล้อมกลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มนุษย์มีแหล่งอาหารอย่างเพียงพอ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งป้องกันวิกฤตอาหารเพื่ออุปโภค บริโภค ที่จะเกิดขึ้นยุคหลัง covid 19

แนน่อนที่สุดที่กล่าวประเด็นนี้มาก็ด้วยเทคโนโลยี AI จะเข้ามาแทนที่มนุษย์มากขึ้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อยู่อย่างพอเพียง รักษาสมดุลย์แห่งธรรมชาติ จึงเป็นความเข้มแข็งของภูมิปัญญา ให้นักเรียน ประชาชน พึ่งตัวเองจากวิถีชีวิต ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสำคัญ ดังนั้นการเรียนรู้ให้รักงาน รักอาชีพ ฝึกปฏิบัติจากภาคสนาม จึงมีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ออนไลน์ ที่เราไม่อาจประเมินได้เลยว่า การเรียนเนื้อหาการเรียนรู้เชิงทฤษฎี ผ่านระบบออนไลน์นั้น จะสร้างคนให้พึ่งตัวเองและรักการทำงานเพื่อความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์ได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เสียงก้องกังวาน ในห้วงฤทัย

"ปาฏิหาริย์ไม่มีจริง"

เส้นทางสายผ้าเหลือง